วิธีการคำนวณจำนวนพัดลมโรงเรือนต่อขนาดของโรงเรือน

4 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการคำนวณหาจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสม

วิธีการคำนวณจำนวนพัดลมโรงเรือนต่อขนาดของโรงเรือน

การติดตั้งพัดลมโรงเรือนเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคปัจจุบันนี้ เราจะเห็นได้จากการใช้งานพัดลมโรงเรือนในอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นฟาร์มเกษตร โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ หรือกระทั่งคลังสินค้าก็ยังสามารถใช้งานพัดลมโรงเรือนนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว แล้วเราจะรู้ได้อย่างไร? ว่าเราควรต้องใช้พัดลมโรงเรือนสักกี่ตัวในอุตสาหกรรมถึงจะเรียกว่าดี แน่นอนว่าทุกคำถามล้วนมีคำตอบอยู่เสมอ ชวนทุกท่านไปรู้จักวิธีการคำนวณง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราทราบได้ว่าโรงเรือนของเราต้องใช้พัดลมโรงเรือนกี่ตัวกันดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มด้วยการคำนวณหาปริมาตรพื้นที่ใช้สอย
การคำนวณหาปริมาตรพื้นที่ใช้สอยที่มีหน่วยเป็นลูกบาศก์เมตร หรือก็คือการค้นหาขนาดของพื้นที่ 3 มิติ ที่มีรูปร่างคล้ายคลึงกับสถานที่ติดตั้งพัดลมโรงเรือนมากที่สุด เพื่อที่เราจะสามารถนำค่าปริมาตรพื้นที่ของเราที่ได้นี้ นำไปคำนวณต่อได้อย่างถูกต้องมากที่สุดนั่นเอง โดยสำหรับการคำนวณหาปริมาตรพื้นที่ใช้สอยสำหรับการหาจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสม เราสามารถคำนวณได้จากสูตร ความกว้าง x ความยาว x ความสูง ตัวอย่างเช่น

  • โรงเรือนขนาดมาตรฐานที่ได้รับความนิยมใช้งานในปัจจุบัน จะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 6 เมตร ยาว 24 เมตร และสูง 5 เมตร เราจะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 6 x 24 x 5 = 720 ลูกบาศก์เมตร

  • โรงงานขนาดมาตรฐานที่ได้รับความนิยมใช้งานในปัจจุบัน จะมีขนาดความกว้างอยู่ที่ 22 เมตร ยาว 88 เมตร และสูง 8 เมตร เราจะสามารถคำนวณได้ดังนี้ 22 x 88 x 8 = 15,488 ลูกบาศก์เมตร

ขั้นตอนที่ 2 หาจำนวนพัดลมโรงเรือนได้ง่าย ๆ ด้วยค่า ACH
ACH หรือในชื่อเต็มว่า Air Changes Per Hour คือจำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง เปรียบเสมือนเป็นวิธีการหาปริมาตรของอากาศบริสุทธิ์ ก่อนที่จะเข้ามาแทนที่อากาศที่เราต้องการระบายออกด้วยพัดลมโรงเรือน โดยจะเป็นการคิดจำนวนเท่าของปริมาตรห้องที่เราต้องการระบาย ซึ่งเราสามารถตรวจสอบปริมาณ ACH ได้ไม่ยากจากกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2535) ซึ่งได้มีระบุอัตราการระบายอากาศไม่น้อยกว่าจำนวนเท่าของปริมาตรของห้องใน 1 ชั่วโมงไว้อยู่แล้ว เราจะสามารถสังเกตได้จากตัวอย่างบางส่วนด้านล่างนี้

  • โรงงาน มีอัตราค่า ACH อยู่ที่ 4
  • ที่จอดรถที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน มีอัตราค่า ACH อยู่ที่ 4
  • สำนักงาน มีอัตราค่า ACH อยู่ที่ 7
  • สถานที่จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม มีอัตราค่า ACH อยู่ที่ 7
  • ห้องพักในโรงแรมหรืออาคารชุด มีอัตราค่า ACH อยู่ที่ 7
  • ห้องครัวของที่พักอาศัย มีอัตราค่า ACH อยู่ที่ 12

ขั้นตอนที่ 3 นำค่าลูกบาศก์เมตรและ ACH มาหาค่าปริมาตรการระบายอากาศ
ปริมาตรการระบายอากาศ หรือในชื่อภาษาอังกฤษว่า Cubic Meter per Hour (CMH) มักจะถูกนำมาเพื่อหาจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมกับการใช้งานในอุตสาหกรรมของเรา และยังสามารถช่วยบอกถึงขนาดพัดลมโรงเรือนที่เราควรใช้งานได้เช่นเดียวกัน โดยสามารถคำนวณได้จากการนำค่า ปริมาตรพื้นที่ใช้สอย (ลูกบาศก์เมตร) x จำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมง (ACH) มาคำนวณร่วมกัน ตัวอย่างวิธีการคำนวณ

  • โรงงานที่มีขนาดความกว้าง 22 เมตร ความยาว 88 เมตร และ ความสูง 8 เมตร มีจำนวนรอบของการไหลเวียนอากาศต่อชั่วโมงอยู่ที่ 4
  • (22x88x8) เมตร x 4 ครั้ง/ชม.
  • 15,488 ลูกบาศก์เมตร x 4 ครั้ง/ชม
  • = 61,952 m³/h

ขั้นตอนที่ 4 คำนวณหาขนาดและจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสม
เมื่อเราทราบจำนวนปริมาตรการระบายอากาศต่อชั่วโมงที่เหมาะสมของพื้นที่เราแล้ว ขั้นตอนต่อมาให้จะเป็นการคำนวณหาขนาดของพัดลมโรงเรือนและจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมกับการใช้งานกัน โดยสามารถตรวจสอบได้จากรายละเอียดข้อมูลของพัดลมโรงเรือนที่ผู้ให้จัดจำหน่ายชี้แจงเอาไว้ และนำมาหารกับจำนวนปริมาตรการระบายอากาศต่อชั่วโมงของพื้นที่ของเรา ตัวอย่างเช่น พัดลมฟาร์ม 36 นิ้ว รุ่น JDF-900HE จากผู้ให้บริการคุณภาพจาก Masterfansp ที่มีคุณสมบัติแรงลมระบายอากาศอยู่ที่ 32,000 m³/h ซึ่งคำนวณได้ดังนี้

  • ปริมาตรการระบายอากาศต่อชั่วโมง (อากาศที่ต้องการถ่ายเท) / ปริมาตรการระบายอากาศต่อชั่วโมง (ความสามารถของพัดลมโรงเรือน)
  • 61,952 m³/h / 32,000 m³/h
  • = 1.936

โดยเมื่อเราได้ตัวเลข 1.936 แนะนำว่าในการใช้งานให้เราปัดเศษขึ้นอยู่เสมอ และอีกหนึ่งข้อสำคัญนั่นก็คือหลักการ Direction of Flow เมื่อมีลมไหลเข้าก็จำเป็นต้องมีลมไหลออกเช่นเดียวกัน ทำให้ทุกการติดตั้งพัดลมโรงเรือน 1 ตัวสำหรับการเป่าอากาศใหม่เข้ามา จะต้องมีพัดลมโรงเรือนอีก 1 ตัว ที่จะทำหน้าที่ดูดอากาศเก่าเป่าออกสู่ภายนอกเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เราคำนวณออกมาได้ดังนี้

  • 1.936
  • = 2 (ปัดเศษขึ้น) คือจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เราต้องการคุณสมบัติที่ 32,000 m³/h
  • 2 x 2 = 4
  • เราจะได้จำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่มีปริมาตร 61,952 m³/h นั่นก็คือพัดลมโรงเรือนทั้งสิ้น 4 ตัว โดยจะแบ่งเป็น พัดลมโรงเรือนสำหรับดูดอากาศใหม่เข้าสู่ภายใน 2 ตัว และ พัดลมโรงเรือนสำหรับดูดอากาศเก่าออกสู่ภายนอก 2 ตัวด้วยกัน

ปรึกษาจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
เพราะการเลือกใช้งานจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสม ถึงแม้ว่าเราจะสามารถคำนวณได้ด้วยตัวเอง แต่ในความเป็นจริงแล้วยังมีอีกหลายปัจจัยด้วยกันที่เราต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นจำนวนคน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร จำนวนพืช สัตว์แต่ละชนิด ความชื้น อุณหภูมิ และอีกมากมายปัจจัยเหล่านี้สามารถส่งผลให้การคำนวณจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมนั้น แตกต่างออกไปได้ในแต่ละอุตสาหกรรมเลยทีเดียว

เราจึงควรปรึกษาผู้ให้บริการพัดลมโรงเรือนที่มีความเชี่ยวชาญโดยตรง จะช่วยให้เราได้จำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมอย่างแท้จริง และยังช่วยให้เรามั่นใจได้ว่าการใช้งานพัดลมโรงเรือนของเราจะได้รับประสิทธิภาพมากที่สุดนั่นเอง Masterfansp เราคือผู้ผลิตและจำหน่ายพัดลมโรงเรือน พัดลมกวนอากาศ พัดลมถังกลม พัดลมฟาร์ม พัดลมโรงงาน มีบริการรับติดตั้งระบบถ่ายเทอากาศ กำจัดฝุ่น กลิ่นควัน ควันเชื่อม และอีกมากมาย

ด้วยประสบการณ์ในการให้บริการมาแล้วยาวนานมากกว่า 10 ปี เรามีทีมงานมืออาชีพผู้เชี่ยวชาญด้านพัดลมโรงเรือนโดยเฉพาะ แนะนำได้ว่า หากท่านต้องการติดตั้งจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมกับการใช้งาน และมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีที่สุด สามารถคำนวณได้ง่าย ๆ จากตัวอย่างพัดลมโรงเรือน 2 ขนาดด้วยกันได้แก่

  • พัดลมฟาร์มขนาดใบพัด 36” พื้นที่ 25 ตารางเมตรต่อ 1 ตัว
  • พัดลมฟาร์มขนาด 50” พื้นที่ 50 ตารางเมตรต่อ 1 ตัว

เราจะเห็นได้ว่าวิธีการคำนวณจำนวนพัดลมโรงเรือนที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้น สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงไม่กี่ขั้นตอนเท่านั้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เราทราบได้ว่าเราควรใช้พัดลมโรงเรือนขนาดเท่าใดแล้ว ยังช่วยให้เรารู้ได้ด้วยว่าต้องใช้จำนวนกี่ตัวในการใช้งานนั่นเอง มั่นใจได้เลยว่าการประสิทธิภาพการไหลเวียนอากาศภายในอุตสาหกรรมของเรา จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าก่อนอย่างแน่นอน

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยว ติดต่อ
บริษัท มาสเตอร์แฟนซัพพลายแอนด์พาร์ท จำกัด

E-mail : masterfansp@gmail.com
  

Visitors: 112,747